วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่8

1. โลกาภิวัตน์มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร จงอธิบาย
-ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก
27.     ยกตัวอย่างอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อวัฒนธรรมของไทย พร้อมอธิบายมาพอสังเขป
เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น
ด้านสังคม  ด้านเศรษฐกิจ
28.     ค่านิยมในเรื่องใดบ้างที่เกิดจากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์
ค่านิยมทางการเมือง
ทุกประเทศในโลกต้องเป็นแนวประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งประเทศต่างๆ หากจะต้องมีรูปแบบการเมืองการปกครองในแบบเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หรือใช้กำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยให้เป็นประชาธิปไตย โดยไม่สนใจต่อความพร้อมหรือวิถีชีวิตของคนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งการเมืองในระบบประชาธิปไตย เมื่อถูกผ่านการครอบงำผ่านทางข้อมูลข่าวสารจากโลกตะวันตก ก็จะทำให้ประชาชนมีค่านิยมที่จะเลือกผู้นำที่มีแนวความคิดแบบการค้าเสรีหรือเป็นนายทุนเศรษฐกิจแบบตะวันตกไปเป็นรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทข้ามชาติสามารถเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีความอ่อนแอกว่า ซึ่งจะมีผลต่อจะต้องมีการพึ่งพาโลกตะวันตก
ค่านิยมทางเศรษฐกิจ
โลกจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) โดยถือหลักการว่าที่ไหนถูกก็ผลิตหรือซื้อที่นั่น โดยต่างฝ่ายจะใช้มาตรการทางภาษีให้มีน้อยที่สุด โดยโลกตะวันตกก็จะมีการปกป้องธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกันได้ในรูปแบบของการกีดกันทางการค้า ในแบบที่เรียกว่า Non Tariff Barrier (NTB) การค้าของโลกจะตกอยู่ภายใต้กติกาขององค์กรการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) ที่โลกตะวันตกไม่กี่ประเทศเป็นผู้บงการ และข้อตกลงในลักษณะที่เป็นทวิภาคี ได้แก่ ที่มาในรูปแบบของเขตการค้าเสรี (Free Trade Area –FTA) ซึ่งหาก WTO ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ก็จะมีการทำข้อตกลงความร่วมมือในระดับภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asian Free Trade Area - AFTA ), ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิค (Asia-Pacific Economic Cooperation - APEC) เป็นต้นดังนั้น การค้าเสรีของ Globalization นั้นจึงเป็นความเสรีบนความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งไม่ใช่ความยุติธรรมทางการค้า
ค่านิยมทางสังคม
โดยการครอบงำทางสังคมวัฒนธรรม โดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าของโลกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) การบริโภคนิยม (Consumerism) การนิยมวัตถุ (Materialism) รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะอนุรักษ์เฉพาะในสิ่งที่ประเทศด้อยพัฒนาไม่พร้อม แต่โลกตะวันตกพร้อม
ค่านิยมการปกป้องทางการค้า (Protectionism)
การค้าโลกาภิวัตน์ จะเกิดขึ้นพร้อมกับการปกป้องทางการค้าในรูปแบบของลิขสิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะมาจากโลกตะวันตก ซึ่งจะใช้ลิขสิทธิ์เป็นเครื่องมือในการปกป้องสินค้าและบริการ นอกเหนือจากนี้การใช้มาตรการทางด้านการเงิน ผ่านกองทุนต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (
International Monetary Fund - IMF) หรือ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank - ADB )และฯลฯ ซึ่งองค์กรทางด้านเศรษฐกิจระดับโลกเหล่านี้มักจะมีเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจข้ามชาติ ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้อง รวมทั้งการใช้มาตรการที่ป้องกันผู้ก่อการร้ายของก็อยู่ในกระแสของโลกาภิวัตน์เช่นกัน

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่7

1. เพราะเหตุใดนักเรียนจึงต้องรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
-เพราะทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อเรามาก
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวทางอย่างไร
-1) กำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า
2) ดูแลรักษาทรัพยากรที่หายากหรือมีน้อย ให้อยู่ในสภาวะที่มากพอเสียก่อนจึงจะให้ใช้ทรัพยากรนั้น ๆ ได้
3) ผู้ใช้ทรัพยากรทั้งหลายควรตระหนักอยู่เสมอว่า ทรัพยากรแต่ละอย่างจะมีความสัมพันธ์ต่อกันยากที่จะแยกจากกันได้
4) การเพิ่มผลผลิตของพื้นที่แต่ละแห่งควรจะต้องทำ
5) ต้องพยายามอำนวยให้สภาวะต่าง ๆ ดีขึ้น
3. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง และมี
-ความจำเป็นต่อสังคมปัจจุบันอย่างไร
                1. มีความต่อเนื่องของเผ่าพันธุ์มนุษย์บนโลก โดยมีการให้กำเนิดชีวิตใหม่ และผู้ที่เกิดใหม่สามารถอยู่รอด เติบโต มีลูกหลานสืบเนื่องไปในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
                2.
สามารถรักษาปริมาณสำรองของทรัพยากรทางชีวภาพและสามารถให้ผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
                3.
มีจำนวนประชากรคงที่
                4.
สามารถจำกัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
                5.
เป็นการพัฒนาในระดับจุลภาค และในรูปของการพึ่งพาตนเอง
                6.
สามารถรักษาระบบนิเวศและสภาพของสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่อง

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่6

1. ปัญหาความขัดแย้งระดับประเทศที่เกิดขึ้นในสังคมโลกมีอะไรบ้าง และเป็นอย่างไร จงอธิบาย
-การขัดแย้งทางวัฒนธรรม (Cultural Conflict)
การแพร่กระจายวัฒนธรรมและการสังสรรค์ทางวัฒนธรรมอาจสร้างความขัดแย้ง ถ้าสมาชิกในกลุ่มไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน โดยปกติกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และภาษาพูดร่วมกันมักจะไม่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมีการปะทะสังสรรค์ของวัฒนธรรมที่ต่างกัน การปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมนี้เกิดจากการแพร่กระจายของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งหรือทั้งสองชุด ทั้งนี้อาจเกิดจาก
(1) การอพยพย้ายถิ่นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเข้ามาสู่อาณาบริเวณที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมอื่นอยู่แล้ว ถ้าการอพยพย้ายถิ่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นมิตรก็จะเกิดความขัดแย้งได้
(2) การขยายดินแดนของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อเสริมอาณาเขตของตนซึ่งมีผลในการรุกรานกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้รวมทั้งการยกทัพไปสู้รบกันดังเช่นสงครามสมัยโบราณ
(3) การล่าอาณานิคมของสังคมตะวันตก โดยกลุ่มที่มีอำนาจสามารถเข้าไปครอบครองและเผยแพร่วัฒนธรรมของตนด้วย
(4) นอกจากนี้ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอาจเกิดจากการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมโดยการสื่อสาร ถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน ระบบการศึกษา และเทคโนโลยีต่างๆ

2. นักเรียนคิดว่าวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลของชาติของเราหรือไม่ อย่างไร
-มีอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม เช่นการแต่งตัว ค่านิยม เป็นต้น
3. แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในด้านเชื้อชาติ ศาสนา นักเรียนมีข้อเสนอแนะอย่างไรเกี่ยวกับปัญหานี้
-เชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศให้มากขึ้น
ไม่ดูถูกทางด้านเชื้อชาติ

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่5

1. สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญอย่างไรกับความสงบสุขของสังคมโลก
-สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอารยะธรรมโลก (World Civilzation) ของมนุษย์ที่พยายามวางระบบความคิดเพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความระลึกรู้ คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิตั้งแต่กำเนิด โดยให้ความสำคัญกับคำว่าชีวิต (Life) (ชะวัชชัย ภาติณธุ,2548:3) นอกจากนี้แล้วสิทธิมนุษยชนยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความเป็นมนุษย์สิทธิและ เสรีภาพ และสภาวะโลกปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่เรื่องประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องของสิทธิมนุษยชนยังได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางการฑูต การงดการทำการค้าด้วย หรือกรณีการส่งกองกำลังทหารของสหประชาชาติเพื่อเข้าไปยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวิน่า และในโคโซโว ของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย เป็นต้น (กุมพล พลวัน, 2547:2-3) ด้วยสาเหตุและความสำคัญดังกล่าวมาข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะมีความสำคัญทั้งในด้านสังคมโลกและการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย
2. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในปัจจุบันของโลกมีอะไรบ้าง แล้วเป็นอย่างไร จงอธิบายมาพอสังเขป
รัฐธรรมนูญของชาติตะวันตกที่พัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ยังไม่ถือได้ว่าเป็น สากลเพราะยังไม่ครอบคลุมไปถึงพลเมืองทุกคน สตรี เด็ก คนต่างชาติ และทาส ยังไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพลเมืองที่มีสิทธิตามกฎหมาย นอกจากนั้นสิทธิทางสังคมและสิทธิของชนกลุ่มน้อย ก็ยังไม่ได้รับการกล่าวถึงในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของชาติตะวันตกต่างๆ ในช่วงระยะนั้น บท
บัญญัติการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติซึ่งแสดงถึงความร่วมมือระหว่างชาติได้ปรากฏขึ้น โดยเฉพาะสนธิสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา สนธิสัญญาเกี่ยวกับการเลิกทาส และกฎหมายเกี่ยวกับสงคราม อย่างไรก็ตามเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) สิ้นสุดลง ก็ได้เกิดความรู้สึกร่วมกันว่ารัฐบาลทั้งหลายไม่สามารถปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพลังของนานาชาติร่วมกัน ดังนั้นองค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) ซึ่งเป็นองค์การสากลระหว่างรัฐบาลองค์การแรก กำเนิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงหาวิถีทางที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ แต่งานของสันนิบาตชาติในเรื่องนี้ก็จำกัดอยู่เพียงการคุ้มครองชนกลุ่มน้อยในบางประเทศเท่านั้น ความพยายามระดับนานาชาติที่จะปกป้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ปรากฏขึ้นต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และได้กลายเป็นข้อตกลงระดับนานาชาติ ร่างขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศเมื่อ ค.ศ. 1919 ส่วนการเลิกทาสซึ่งพยายามต่อสู้กันมาเป็นระยะเวลานานก็บรรลุผลสำเร็จ เมื่อนานาชาติที่เกี่ยวข้องร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างชาติว่าด้วยทาสที่กรุงเจนีวาเมื่อ ค.ศ. 1926 สำหรับปัญหาผู้ลี้ภัยก็ได้มีการร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างชาติเพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัย เมื่อ ค.ศ. 1933 และ 1938
ในช่วงระยะระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้เกิดระบอบการปกครองแบบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จ (Totalitarian regimes) ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1920 และดำเนินต่อไปจนเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในดินแดนของตนเองอย่างรุนแรง ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ได้นำมาซึ่งการทำลายล้างชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งมีความพยายามที่จะทำลายชนกลุ่มต่างๆ โดยอ้างเหตุแห่งเชื้อชาติและศาสนาดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างแน่นอนว่าจำเป็นจะต้องมีบทบัญญัติระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะการเคารพสิทธิมนุษยชนนับเป็นภาระที่สำคัญอันจะนำไปสู่สันติภาพและความก้าวหน้า
3. ยกตัวอย่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโลกปัจจุบัน พร้อมบอกแนวทางการแก้ไขปัญหา
-การละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อย ซึ่งตามปกติ ถือว่าเป็นคนชายขอบและมีฐานะต่ำกว่าบุคคลทั่วไป จึงเสี่ยงแก่การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ง่าย แต่กรณีที่ข้าพเจ้าอยากจะเจาะลึกลงไปในบทความนี้นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับการที่ สถาบันการศึกษา ระดับก่อนอุดมศึกษา หรือแม้กระทั่งระดับอุดมศึกษา ละเมิดสิทธิมนุษยชนของ นักเรียน หรือ นักศึกษา ในการบังคับให้ตัดทรงผม ตามระเบียบข้อบังคับที่สถาบันได้กำหนดไว้

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่4

1. ความเป็นธรรมในสังคมโลกจะเกิดขึ้นได้นั้น คนในสังคมต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร
-ใครทำผิดก็ว่าไปตามผิด
-ไม่เห็นแก่ฝ้ายใดฝ่ายหนึ่ง
2. ความไม่เป็นธรรมในสังคมมีสาเหตุหลักมาจากอะไรบ้าง อธิบายพอสังเขป
-การเห็นแก่ตัวในสังคมทั้งในครอบครัวและประเทศชาติ
3. นักเรียนคิดว่า สังคมที่มีความยุติธรรม มีลักษณะอย่างไร
- ควรมีแต่คนดีอยู่ในสังคม
-มีความไม่เห็นแก่ตัวและสังคมนั้นน่าอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่3

1.     เพราะเหตุใด เราจึงควรเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมของสังคมโลก
-จะทำให้เรารู้ถึงสถานกราณ์โลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  รู้ถึงความเป็นมาของโลก
2.     ค่านิยมเกี่ยวกับเพศสภาพในสังคมโลกตะวันออกและโลกตะวันตกแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบายพอสังเขป
-สังคมมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีการให้ความสำคัญกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากขึ้น มีการยอมรับในเรื่องสิทธิมนุษยชน การเคารพซึ่งความเป็นคนของแต่ละคน เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตแบบเกษตรให้เป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม ฯลฯ ส่งผลให้ผู้หญิงส่วนหนึ่งได้รับโอกาสในด้านต่างๆมากขึ้น ถึงกระนั้นความแตกต่างทางเพศนี้ ได้ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่สังคมให้ความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน โดยการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว ได้ใช้ความคิดรวบยอดที่ชื่อว่า เพศสภาวะ(gender) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญ
ความแตกต่างของคำว่า เพศ(sex) และ ความเป็นเพศหรือเพศสภาวะ(gender)นั้น ได้ถูกจำแนกอย่างชัดเจนในการประชุมเชิงปฏิบัติการของกองทุนสหประชาชาติเรื่อง Gender, Population and Development ในปี 1996
[2] โดย
เพศ (Sex) หมายถึง เพศที่กำหนดขึ้นโดยธรรมชาติ และเป็นข้อกำหนดทางสภาวะทางชีววิทยาซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (ยกเว้นการผ่าตัดแปลงเพศ ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้เพียงบางส่วน) โดยบุคคลที่เกิดมามีเพศเป็นหญิงหรือเป็นชาย มีหน้าที่การให้กำเนิดและมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน อาทิ มนุษย์เพศหญิงเท่านั้นที่สามารถตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้ ขณะที่มนุษย์เพศชายจะมีส่วนในการให้กำเนิดโดยเป็นผู้ผลิตอสุจิที่จะผสมกับไข่จากเพศหญิง
3.     สื่อมีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมของคนในสังคมอย่างไร จงวิเคราะห์
--เห็นแก่ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว   การเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 จนถึงต้นศตวรรษที่ 21 ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ โดยมีการสื่อสารไร้พรมแดนเป็นเครื่องมือทำลายข้อจำกัดทางการสื่อสารของทุกคนในโลก จึงไม่แปลกอะไรที่สื่อสารมวลชนเป็นช่องทางอันทรงพลังในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนปลูกฝังความเชื่อ ทัศนคติต่างๆ ให้แก่คนในสังคมได้เรียนรู้ จนอาจกล่าวได้ว่า 30 กว่าปีที่ผ่านมาสาขานิเทศศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย เพราะบุคลากรที่มีความรู้ในสาขาวิชาชีพนี้จะมีโอกาสเป็นนักสื่อสารมวลชนที่สามารถเป็นผู้ส่งสารไปยังกลุ่มผู้รับสารจำนวนมากที่รอคอยเสพสื่อได้

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่2

1.ความหลากหลายของประชากรโลกในยุคปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร                                         
ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6,070.6 ล้านคนในปี 2543 เป็น 7,851.4 ล้านคนในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ ในปี 2568 โครงสร้างของประชากรโลกมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 15.0 ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 30.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 24.2 ในปี 2568 แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของประชากรกำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างประชากรวัยเด็กในอดีตเป็นประชากรวัยสูงอายุ หรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเป็นภาพรวมของประชากรโลก แต่ถ้าพิจารณาในแต่ละภูมิภาคของโลกทำให้ทราบว่ายุโรปมีสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประชากรวัยเด็กน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 16 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุมากที่สุดร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมดในยุโรป ในขณะที่แอฟริกามีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กสูงถึงร้อยละ 42 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพียงร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดในแอฟริกา
ประเทศที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 5 ประเทศ คือ อิตาลี ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมันนี และสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้มีลักษณะทางประชากรที่สำคัญ เช่น อัตราเกิดต่อประชากรพันคนค่อนข้างต่ำ และมีอัตราตายต่อประชากรพันคนต่ำเช่นกัน แต่มีอายุขัยเฉลี่ยค่อนข้างสูง ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกเท่ากับประเทศอิตาลีในยุโรป (ร้อยละ 25) และที่น่าสนใจคือ คนญี่ปุ่นเป็นคนมีอายุขัยเฉลี่ยหรือมีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลกด้วย (82 ปี) ในขณะที่แอฟริกายังเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กมากเกือบร้อยละ 42 ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาค มีอัตราเจริญพันธุ์รวมและอัตราตายต่อประชากรพันคนสูงมาก (4.9 และ 15 ตามลำดับ) และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยที่ต่ำมากเพียง 49 ปีเท่านั้น

2.สังคมอเมริกันมีอัตลักษณ์อย่างไร และแตกต่างจากสังคมอื่นอย่างไร
-ทฤษฎีฝั่งอเมริกาจะเน้นการพยายามตอบปัญหาโดยใช้กระบวนวิธีแบบวิทยาศาสตร์ คือการพยายามหารูปแบบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เป็นเส้นตรง การใช้ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข หรือบอกค่าได้โดยปราศจากข้อถกเถียง และการสนใจประเด็นศึกษาแต่เพียงมิติเดียว และมุ่งมั่นที่จะหาหนทางที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดในการบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งสำหรับทฤษฎีสื่อสารมวลชน แนวทางดังกล่าวเป็นที่มาของทฤษฎีกระแสหลัก (Dominant Paradigm) เช่นทฤษฎีเข็มฉีดยา (Transmission) ที่สนใจว่าสถาบันสื่อสารมวลชนจะประสบความสำเร็จในการสื่อสารไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้รับเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ผู้ส่งสารต้องการได้อย่างไร (โดยไม่สนใจประเด็นอื่น เช่น สารนั้นมีคุณค่าไหม ผู้รับสารมีพื้นเพ ความคิด ความเชื่ออย่างไร) แต่ทฤษฎีกระแสทางเลือกของฝั่งยุโรป จะสนใจศึกษาประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านการเมือง วัฒนธรรม สังคมวิทยา ไปจนถึงศีลธรรม ซึ่งก็คือการมองว่าสื่อสารมวลชนเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางสังคมที่สลับซับซ้อนและเป็นหนึ่งเดียวกัน
เรื่องของเรื่องก็คือ ยิ่งอ่านแนวคิดอเมริกัน ก็ยิ่งนึกถึงสังคมไทยที่รับเอาแนวคิดเหล่านั้นมาใช้กันในหลาระดับ หลายๆ แนวคิดก็ฝังลึกและกลายเป็น มาตรฐานในการคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นนำและปัญญาชน โดยบางทีก็หลงลืมว่าวิธีคิดนั้นมีบางอย่างที่ ไม่ปกติ
ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องสื่อสารมวลชนโดยตรง นักวิจัยสื่อสารมวลชนในอเมริการมักไม่สนใจว่าสื่อควรมีบทบาทต่อสังคม ชี้นำสังคมไปอย่างไร รายการทีวีในสหรัฐเหมือนกับรายการทีวีในไทยตรงที่เต็มไปด้วยธุรกิจการค้าและโฆษณาที่อ่อนคุณค่าต่อสังคมโดยรวม ปัญหาเหล่านี้เพิ่งได้รับความสนใจในระยะหลังๆ เมื่อคนเริ่มพบว่าทุนนิยมสุดขั้ว (ที่อเมริกาเป็นผู้นำ) นำไปสู่ปัญหานานัปการทุนนิยมอเมริกามาพร้อมกับอุดมการณ์เชิดชูสิทธิ เสรีภาพ แต่บ่อยครั้งที่ผู้คนจะ ยึดติดกับอุดมการณ์นี้จนลืมบริบทและความถูกต้องเรื่องอื่น ปัญหานี้แปรสภาพออกมาในรูปแบบต่างๆ กัน เช่นในอเมริกาคนส่วนมากหมกมุ่นกับการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ์จนไม่เป็นทำมาหากิน ส่วนในไทย ผู้สนับสนุนสิทธิและเสรีภาพบางกลุ่มก็มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมในอุดมการณ์ โดยลืมว่าแนวคิดเหล่านี้ไม่ได้มีรากเหง้าในสังคมไทย เช่นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีการฟ้องร้องหรือขู่ฟ้องร้องกันอย่างไม่จำเป็น ความยืดติดกับอุดมคติที่ถูกเสริมแรงจากภาพต้นแบบของสังคมที่ถูกมองว่าเป็น อารยะหลายครั้งก็บ่อนทำลายคุณค่าและรากเหง้า
ตรงกันข้ามกับสังคมยุโรปที่มีการศึกษา พูดถึง และรับรู้น้อยกว่า อาจจะเพราะความใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ทำให้วัฒนธรรมอเมริกันกลายเป็นพลังหลักในสังคมที่ครอบงำและกลืนกิน (Hegemony) ในขณะที่ขนบแบบยุโรปอยู่ห่างไกลออกไปนับตั้งแต่สมัยร.5 นำเข้าวัฒนธรรม Victorian เข้ามา (ซึ่งยุโรปหลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนไปมาก แต่เราไม่ได้รับรู้และเปลี่ยนตาม) ความเป็นยุโรปในปัจจุบันคือสังคมที่หลากหลายแต่มีจุดร่วมที่ผสมผสานและคุยกันได้ (สหภาพยุโรป) การใช้สื่อเพื่อกำหนดทิศทางและสอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของคนในกลุ่มต่างๆ (สื่อสาธารณะอย่าง BBC) เศรษฐกิจทุนนิยมที่ผสานกับเศรษฐกิจชุมชนที่มีคุณภาพ รักษาขนบ และพัฒนาไปในคราวเดียวกัน (ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเช่นนาฬิกา ชีส ไวน์) ยุโรปคือสหสังคมที่ยอมรับการดำรงอยู่ของความแตกต่าง และแปรเปลี่ยนความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างหน่วยต่างๆ มาเป็นความร่วมมือผ่านกลไกทั้งเชิงสถาบัน การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ต่างกันลิบลับกับสังคมอเมริกันยุคหลังสงครามโลก (และสังคมไทยในยุคเดียวกัน) ที่มุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์อันเป็นหนึ่งเดียว การลดทอนความซับซ้อนขององค์ประกอบทางสังคมให้เหลือแต่ความสัมพันธ์ที่สามารถพิจารณาได้ด้วยแนวคิดสากลเช่นเศรษฐกิจทุนนิยม ทัศนะและมโนทัศน์เหล่านี้ฝังลึกในพลเมือง และสะท้อนออกมาผ่านช่องทางต่างๆ เช่นทฤษฎีสื่อสารมวลชนแนวทางเลือกที่ได้กล่าวข้างต้น
ผมคงไม่สามารถสรุปได้ว่ามโนทัศน์แบบไหนจะยั่งยืนและเป็นทางออกในอนาคต แต่สิ่งที่เห็น ณ ปัจจุบันคือขาลงของขนบอเมริกันแบบดั้งเดิม และการเฟื่องฟูของแนวคิดทางสายกลาง ทฤษฎีทางเลือก และการมองโลกองค์รวมโดยยอมรับความแตกต่างซับซ้อน ซึ่งหลายคนก็มองว่าการยอมรับดังกล่าวจะเป็นทางรอดของมนุษย์ เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันกับเพื่อนร่วมโลก และธรรมชาติ

3.ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกามีความเป็นอยู่แตกต่างจากประชากรในทวีปอื่นนอย่างไร
-ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด[1] ประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน (พ.ศ. 2552) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก
ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ รวมทั้งมาดากัสการ์ หมู่เกาะต่าง ๆ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา แต่ยังคงถูกโต้แย้งเรื่องสถานภาพความเป็นอธิปไตยโดยโมร็อกโก

9. ความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ส่งผลกระทบต่อความขัดแย้งในสหภาพพม่าอย่างไร
-ในอดีต ภูมิภาคยุโรปประกอบไปด้วยรัฐต่างๆที่มีพรมแดนติดกัน โดยพรมแดนมักจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และไม่มีการกำหนดเขตแดนที่แน่นอนตามแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้สิ้นสุดลง ทำให้เกิดการปลดปล่อยดินแดนต่างๆ ส่งผลทำให้เกิดกลุ่มชนต่างๆ ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และในเวลาต่อมาจึงได้มีการประกาศเอกราชกลายเป็นรัฐต่างๆขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลง ภูมิภาคยุโรปต่างได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าประเทศในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากยุโรปถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตก นับว่าเป็นยุโรปยุคใหม่ (New Europe) ที่มีความขัดแย้งระหว่างประเทศลดลงแต่กลับมีความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติเข้ามาแทนที่ ประกอบกับ ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติในยุโรปกลายเป็นประเด็นสำคัญทางด้านสิทธิมนุษยชน เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของภูมิภาคยุโรปเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลกด้วยเช่นกัน
ภายหลังสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงในปี พ.. 2534 ประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกบางประเทศได้เกิดสงครามกลางเมือง อันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติ ทำให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) ต้องส่งหน่วยรักษาสันติภาพไปยังบริเวณที่เกิดความขัดแย้งเพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อาทิ ในปี พ.. 2536 ส่งหน่วยรักษาสันติภาพเข้าไปยังพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และในปี พ.. 2542 องค์การนาโตได้ส่งกองกำลังเข้าปราบปรามชาวเซิร์บที่ต้องการล้างเผ่าพันธุ์ชาวโคโซโวเชื้อสายแอลเบเนียบนดินแดนแห่งความขัดแย้งทางเชื้อชาติของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียเดิม ซึ่งประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ ได้แก่ เซอร์เบีย โครเอเซีย สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มาซิโดเนีย และมอนเตเนโกร ปัญหาเชื้อชาตินั้นมีความสำคัญมากเพราะยูโกสลาเวียมีหลาย ชนชาติ ได้แก่ ชาวเซิร์บ โครแอต บอสเนีย มุสลิม สโลวีน และมาซิโดเนีย เป็นต้น ความแตกแยกของยูโกสลาเวียในปัจจุบันมีที่มาจากปัจจัยพื้นฐานหลายประการ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือปัจจัยทางประวัติศาสตร์ที่สั่งสมมานานกว่าพันปี จากการที่สาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งมารวมกันเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียมีเชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติกลายเป็นปัญหาที่คุกรุ่นตลอดมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชาวโครแอท ชาวเซิร์บ และชาวมุสลิมในอดีต สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ โดยมีผู้นำที่มีความสามารถในการปกครองและผสานความสมานฉันท์ระหว่างเชื้อชาติ คือ พลเอก โจซีป ตีโต(Josip Tito) ทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติไม่มีปัญหามากนัก จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงผู้นำ เมื่อ ตีโตถึงแก่กรรม ผู้นำที่ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่ง คือ นายสโลโบดัน มิโลเชวิช (Slobodan Milosevic) ซึ่งเป็นคนเชื้อสายเซิร์บหัวรุนแรง ทำให้ปัญหาเชื้อชาติประทุขึ้นขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนี้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยังมีสาเหตุมาจากความแตกต่างในด้านศาสนาด้วย อาทิ ชาวเซิร์บนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ ส่วนชาวสโลวีนและโครแอตนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นต้น ทำให้เกิดความขัดแย้งของรัฐบาลในแต่ละสาธารณรัฐต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงได้ขึ้นเป็นรัฐบาลกลางปกครองประเทศและรัฐบาลแห่งรัฐเซอร์เบียได้ผลักดันให้ชาวเซิร์บเข้ามามีบทบาทในกองทัพมาขึ้น ทำให้สาธารณรัฐอื่นไม่พอใจเป็นอย่างมาก โดยในปี พ.. 2534 สาธารณรัฐต่างๆได้แยกตัวจากยูโกสลาเวีย
เมื่อแต่ละสาธารณรัฐประกาศแยกตัวจากยูโกสลาเวีย ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือปัญหาทางด้านเชื้อชาติ เช่น ชาวเซิร์บในเขตสาธารณรัฐโครเอเซีย บอสเนีย และเฮอร์เซโกวีนา ได้ต่อต้านรัฐบาลโครเอเชียและรัฐบาลบอสเนีย ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเซอร์เบีย ทำให้เกิดการสู้รบในโครเอเชียขึ้น ระหว่างกองกำลังชาวเซิร์บกับกองทัพรัฐบาลโครเอเซียนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.. 2534 จนถึงปี พ.. 2538

5. ประเทศต่างๆในทวีปเอเชียมีอัตลักษณ์อย่างไร
-อัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ประเทศไทยประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ มีทั้งลาว เขมร ส่วย มอญ จีน ญวน แขก ฯลฯ ทุกคนไม่ว่าจะมีกำเนิดในชาติพันธุ์ใด ก็มีสถานภาพเป็นพลเมืองไทยอย่างเท่าเทียมกัน อาจจะมีการดูหมิ่นเหยียดหยามกันอยู่บ้างในอดีต
แต่สังคมไทยในปัจจุบันไม่มีแล้ว เช่น คนจีนที่ถูกเรียกว่า "เจ๊ก" ก็โกรธ แต่เดี๋ยวนี้หายโกรธแล้ว คนจีนก็ยังเรียกตัวเองว่า "เจ๊ก" เหมือนกัน คนมลายูที่ถูกเรียกว่า "แขก" ก็น่าจะเลิกโกรธกันได้แล้ว เพราะคำว่า "เจ๊ก" ก็ดี "แขก" ก็ดี ไม่ใช่คำหยาบ ไม่มีความหมายไปในทางดูหมิ่นเหยียดหยามแต่อย่างใด
จะเห็นว่าทุกชาติพันธุ์ก็สามารถดำรงชีวิตตามประเพณีของตนได้ คนจีนก็ฉลองวันตรุษจีนได้ คนมอญเขาก็เล่นสงกรานต์ตามประเพณีของเขาได้ คนลาวก็เล่นบั้งไฟอยู่ทั่วไป พอมีข่าวน้ำท่วมสระบุรี เราจึงได้รู้ว่าชุมชนญวนที่อำเภอเสาไห้ ได้เก็บบ้านหลังแรกที่บรรพบุรุษของเขามาตั้งหลักแหล่งที่นั่นไว้ เป็นอัตลักษณ์ของเขาเหมือนกัน ชาวมลายูใน 3 จังหวัดก็สามารถประกอบกิจ อันเป็นประเพณีของตนได้ตามปกติอยู่แล้ว
ปัญหาเรื่องอัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ไม่เคยมี ที่พูดๆ กันอยู่ตอนนี้เป็นเพียงข้อกล่าวหาของกลุ่มผู้ก่อการเท่านั้น