วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่1

1.        องค์การสหประชาชาติมีบทบาทสำคัญระดับโลกอย่างไร
-สหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ (ตัวย่อ: UNO) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี พ.ศ. 2488 เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ ในการยับยั้งสงครามระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาท สหประชาชาติมีองค์การย่อย ๆ จำนวนมากเพื่อดำเนินการตามภารกิจ
สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ครอบคลุมรัฐอธิปไตยเกือบทุกรัฐบนโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 5 องค์กรหลัก ได้แก่: สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มักเป็นที่รู้จักและปรากฏตัวต่อสาธารณชน คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ คือ นายบัน คี มุน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2007 ต่อจากโคฟี อันนัน

2.        การรวมกลุ่มของประเทศในแถบยุโรปเป็นสหภาพยุโรปส่งผลดีต่อทวีปยุโรปและเศรษฐกิจของโลกอย่างไร

-สหภาพยุโรป (European Union : EU) พัฒนามาจากประชาคมยุโรปที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปให้ดีขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศสมาชิก โดยเป็นกลุ่มที่รวมองค์การทางเศรษฐกิจ 3 องค์การเข้าด้วยกันคือ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป (EEC) ประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป (EAEC) และประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (ECSE) ซึ่งปัจจุบันสหภาพยุโรปมีสมาชิกรวม 25 ประเทศ คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก อิตาลี สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส สวีเดน ออสเตรีย ฟินแลนด์ ฮังการี เอสโตเนีย ไซปรัส เช็ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวัก ซึ่งการรับสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 อีก 10 ประเทศ นับเป็นการขยายสมาชิกภาพครั้งใหญ่ที่สุด จึงต้องยกเลิกมาตรการระเบียบและกฎหมายที่ใช้อยู่เดิม แล้วมาใช้มาตราการและระเบียบกฎหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งทั้ง 10 ประเทศที่เป็นสมาชิกใหม่นี้จะยังไม่ได้รับสิทธิเทียบเท่าสมาชิกเดิม เช่น เรื่องการอพยพย้ายถิ่นของประชาชน 10 ประเทศนี้จะทำได้ต่อเมื่อประเทศเหล่านี้จะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปผ่านไปแล้ว 7 ปี
3.        สมาคมอาเซียนมีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความสำคัญต่อเวทีโลกอย่างไร
-   สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast Asia Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกเพิ่มเติมอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน (พ.ศ. 2527) เวียดนาม (พ.ศ. 2528) ลาว พม่า (พ.ศ. 2540) และกัมพูชา (พ.ศ. 2542)
เมื่อ พ.ศ. 2534 ได้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการค้าในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ ทำให้อาเซียนเริ่มตระหนักว่าความร่วมมือดังกล่าวจะส่งผลทำให้การค้าและการลงทุนในภูมิภาคเกิดการขยายตัวและเกิดมาตรการการกีดกันทางค้าจากประเทศนอกกลุ่ม ดังนั้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2534 อาเซียนจึงได้เริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา ( ASEAN Free Area : AFTA) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมาสู่ภูมิภาคนี้ โดยสามารถดำเนินการได้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ในการลดอัตราภาษีศุลการกร สินค้านำเข้าให้เหลือ 0-5 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 สิ้นสุดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ต่อมาได้มีมติให้ลดยะยะเวลาดำเนินการจาก 15 ปี โดยเหลือ 10 ปี และให้นำสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเข้ามาลดภาษี รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งเคยได้รับการยกเว้นการลดภาษีชั่วคราวเข้ามาร่วมลดภาษีนี้ด้วย

4.        องค์กรพัฒนาเอกชนมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งอย่างไร
-ในปี พ.ศ.2524 อ.บัณฑร อ่อนดำ นักพัฒนาอาวุโสท่านหนึ่งได้ร่วมกับคณะผลักดันให้มีการตั้ง โครงการสื่อชาวบ้านเพื่อผลิตและเผยแพร่สื่อเพื่อการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคน ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีการตั้ง สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา (มายา) กลุ่มละครเร่ มายาคณะนี้ได้เน้นการศึกษาเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางศิลปะและการแสดงต่อเยาวชน ในช่วงเดียวกันปัญหาเรื่องแม่และเด็กก็เริ่มมีมากขึ้น จึงได้มีการก่อตั้ง มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาเพื่อช่วยเหลือแม่ที่ต้องออกทำงานหาเงินช่วยเหลือครอบครัว ต้องทิ้งให้เด็กๆ อยู่ตามลำพัง หรืออยู่กับเด็กในวัยใกล้เคียงกัน เป็นการช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เด็กต้องขาดความรัก ขาดสารอาหารและสนับสนุนการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ทางด้านสภากาชาดไทย ซึ่งตั้งมานานก็เริ่มขยายข่ายงานโดยตั้ง มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ซึ่งเป็นพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทำหน้าที่สืบหาบิดา มารดา หรือญาติของเด็กและผู้เยาว์ ดำเนินการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้มีชีวิตที่มั่นคง ผาสุกในครอบครัวของตนเอง ตลอดจนอุปการะเด็กที่ขาดผู้อุปการะ ทางด้าน นพ.ประเวศ วะสี และคณะแพทย์ได้ผลักดันให้ก่อตั้งมูลนิธิหมอชาวบ้านเพื่อให้ความรู้ด้านการรักษาพยาบาลโดยพยายามทำสื่อที่เข้าใจง่าย เผยแพร่ออกไปให้กับประชาชนให้เกิดจิตสำนึก เชื่อมั่นในการพึ่งตนเอง และขยายไปสู่ชุมชนพึ่งตนเอง
5.        องค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศมีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้าง
-องค์การสาธารณประโยชน์ (ในสังคมไทยได้เรียกขานองค์กรพัฒนาเอกชนหลายอย่างด้วยกัน เช่น องค์การสาธารณประโยชน์ , องค์กรเอกชน, องค์การเอกชนเพื่อการพัฒนา แต่ทั้งหมดมีความหมายเดียวกัน) หรือชื่อที่คนทั่วไปรู้จักกันว่า องค์กรพัฒนาเอกชน ในภาษาอังกฤษคือ (Non Government Organizations : NGOs) ได้ก่อกำเนิดในสังคมไทยมาช้านาน และมีพัฒนาการที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ควบคู่กับพัฒนาการทางสังคม ทั้งนี้การทำความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานขององค์การสาธารณประโยชน์ ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของสังคมไทย ซึ่งในรอบศตวรรษที่ผ่านมามีวิวัฒนาการที่น่าสนใจดังนี้ เดิมทีประเทศไทยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การตัดสินใจในภาครัฐขึ้นอยู่กับสถาบันกษัตริย์ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2475 ซึ่งสถาบันกษัตริย์ได้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่ยังทรงอำนาจในฐานะที่สักการะและทรงอยู่เหนือการเมือง สำหรับการปกครองได้ผ่องถ่ายไปยังรัฐบาล ซึ่งในช่วงเริ่มต้น มักมีการรัฐประหารโดยกลุ่มทหารอย่างบ่อยครั้ง เพื่อเข้าสู่อำนาจสูงสุดคือตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (สรุปจาก ลิขิต ธีรเวคิน , วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย , กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541) โดยต่างเชื่อว่า กลุ่มตนเองและพวกพ้องมีประสิทธิภาพสูงกว่ารัฐบาลชุดเดิมทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามภาคประชาชนก็เข้มแข็งขึ้นโดยมีการเคลื่อนไหวที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้นำประเทศครั้งแรกคือ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ บทบาทของทหารในการปกครองประเทศค่อย ๆ ลดน้อยลง จนกระทั่งการรัฐประหารครั้งล่าสุดคือ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะทหารกลุ่มที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ได้ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ แต่ก็ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้เมื่อภาคประชาชนชุมนุมประท้วงใหญ่อย่างต่อเนื่อง จนเกิดการปะทะกันระหว่างทหารกับประชาชนในระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม พ.ศ.2535 และได้ก่อให้เกิดกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งประกาศใช้เมื่อ ปี พ.ศ.2540 ที่มีลักษณะพิเศษคือ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และให้อำนาจกับภาคประชาชนในการตรวจสอบและถ่วงดุลกับภาคการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น