วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่2

1.ความหลากหลายของประชากรโลกในยุคปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร                                         
ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6,070.6 ล้านคนในปี 2543 เป็น 7,851.4 ล้านคนในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ ในปี 2568 โครงสร้างของประชากรโลกมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 15.0 ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 30.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 24.2 ในปี 2568 แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของประชากรกำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างประชากรวัยเด็กในอดีตเป็นประชากรวัยสูงอายุ หรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเป็นภาพรวมของประชากรโลก แต่ถ้าพิจารณาในแต่ละภูมิภาคของโลกทำให้ทราบว่ายุโรปมีสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประชากรวัยเด็กน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 16 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุมากที่สุดร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมดในยุโรป ในขณะที่แอฟริกามีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กสูงถึงร้อยละ 42 และมีสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพียงร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดในแอฟริกา
ประเทศที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 5 ประเทศ คือ อิตาลี ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมันนี และสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้มีลักษณะทางประชากรที่สำคัญ เช่น อัตราเกิดต่อประชากรพันคนค่อนข้างต่ำ และมีอัตราตายต่อประชากรพันคนต่ำเช่นกัน แต่มีอายุขัยเฉลี่ยค่อนข้างสูง ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดในโลกเท่ากับประเทศอิตาลีในยุโรป (ร้อยละ 25) และที่น่าสนใจคือ คนญี่ปุ่นเป็นคนมีอายุขัยเฉลี่ยหรือมีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลกด้วย (82 ปี) ในขณะที่แอฟริกายังเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนประชากรวัยเด็กมากเกือบร้อยละ 42 ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาค มีอัตราเจริญพันธุ์รวมและอัตราตายต่อประชากรพันคนสูงมาก (4.9 และ 15 ตามลำดับ) และประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยที่ต่ำมากเพียง 49 ปีเท่านั้น

2.สังคมอเมริกันมีอัตลักษณ์อย่างไร และแตกต่างจากสังคมอื่นอย่างไร
-ทฤษฎีฝั่งอเมริกาจะเน้นการพยายามตอบปัญหาโดยใช้กระบวนวิธีแบบวิทยาศาสตร์ คือการพยายามหารูปแบบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน เป็นเส้นตรง การใช้ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข หรือบอกค่าได้โดยปราศจากข้อถกเถียง และการสนใจประเด็นศึกษาแต่เพียงมิติเดียว และมุ่งมั่นที่จะหาหนทางที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดในการบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ซึ่งสำหรับทฤษฎีสื่อสารมวลชน แนวทางดังกล่าวเป็นที่มาของทฤษฎีกระแสหลัก (Dominant Paradigm) เช่นทฤษฎีเข็มฉีดยา (Transmission) ที่สนใจว่าสถาบันสื่อสารมวลชนจะประสบความสำเร็จในการสื่อสารไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้รับเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ผู้ส่งสารต้องการได้อย่างไร (โดยไม่สนใจประเด็นอื่น เช่น สารนั้นมีคุณค่าไหม ผู้รับสารมีพื้นเพ ความคิด ความเชื่ออย่างไร) แต่ทฤษฎีกระแสทางเลือกของฝั่งยุโรป จะสนใจศึกษาประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านการเมือง วัฒนธรรม สังคมวิทยา ไปจนถึงศีลธรรม ซึ่งก็คือการมองว่าสื่อสารมวลชนเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบทางสังคมที่สลับซับซ้อนและเป็นหนึ่งเดียวกัน
เรื่องของเรื่องก็คือ ยิ่งอ่านแนวคิดอเมริกัน ก็ยิ่งนึกถึงสังคมไทยที่รับเอาแนวคิดเหล่านั้นมาใช้กันในหลาระดับ หลายๆ แนวคิดก็ฝังลึกและกลายเป็น มาตรฐานในการคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชนชั้นนำและปัญญาชน โดยบางทีก็หลงลืมว่าวิธีคิดนั้นมีบางอย่างที่ ไม่ปกติ
ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องสื่อสารมวลชนโดยตรง นักวิจัยสื่อสารมวลชนในอเมริการมักไม่สนใจว่าสื่อควรมีบทบาทต่อสังคม ชี้นำสังคมไปอย่างไร รายการทีวีในสหรัฐเหมือนกับรายการทีวีในไทยตรงที่เต็มไปด้วยธุรกิจการค้าและโฆษณาที่อ่อนคุณค่าต่อสังคมโดยรวม ปัญหาเหล่านี้เพิ่งได้รับความสนใจในระยะหลังๆ เมื่อคนเริ่มพบว่าทุนนิยมสุดขั้ว (ที่อเมริกาเป็นผู้นำ) นำไปสู่ปัญหานานัปการทุนนิยมอเมริกามาพร้อมกับอุดมการณ์เชิดชูสิทธิ เสรีภาพ แต่บ่อยครั้งที่ผู้คนจะ ยึดติดกับอุดมการณ์นี้จนลืมบริบทและความถูกต้องเรื่องอื่น ปัญหานี้แปรสภาพออกมาในรูปแบบต่างๆ กัน เช่นในอเมริกาคนส่วนมากหมกมุ่นกับการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ์จนไม่เป็นทำมาหากิน ส่วนในไทย ผู้สนับสนุนสิทธิและเสรีภาพบางกลุ่มก็มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมในอุดมการณ์ โดยลืมว่าแนวคิดเหล่านี้ไม่ได้มีรากเหง้าในสังคมไทย เช่นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีการฟ้องร้องหรือขู่ฟ้องร้องกันอย่างไม่จำเป็น ความยืดติดกับอุดมคติที่ถูกเสริมแรงจากภาพต้นแบบของสังคมที่ถูกมองว่าเป็น อารยะหลายครั้งก็บ่อนทำลายคุณค่าและรากเหง้า
ตรงกันข้ามกับสังคมยุโรปที่มีการศึกษา พูดถึง และรับรู้น้อยกว่า อาจจะเพราะความใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ทำให้วัฒนธรรมอเมริกันกลายเป็นพลังหลักในสังคมที่ครอบงำและกลืนกิน (Hegemony) ในขณะที่ขนบแบบยุโรปอยู่ห่างไกลออกไปนับตั้งแต่สมัยร.5 นำเข้าวัฒนธรรม Victorian เข้ามา (ซึ่งยุโรปหลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนไปมาก แต่เราไม่ได้รับรู้และเปลี่ยนตาม) ความเป็นยุโรปในปัจจุบันคือสังคมที่หลากหลายแต่มีจุดร่วมที่ผสมผสานและคุยกันได้ (สหภาพยุโรป) การใช้สื่อเพื่อกำหนดทิศทางและสอดคล้องกับธรรมชาติและความต้องการของคนในกลุ่มต่างๆ (สื่อสาธารณะอย่าง BBC) เศรษฐกิจทุนนิยมที่ผสานกับเศรษฐกิจชุมชนที่มีคุณภาพ รักษาขนบ และพัฒนาไปในคราวเดียวกัน (ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเช่นนาฬิกา ชีส ไวน์) ยุโรปคือสหสังคมที่ยอมรับการดำรงอยู่ของความแตกต่าง และแปรเปลี่ยนความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างหน่วยต่างๆ มาเป็นความร่วมมือผ่านกลไกทั้งเชิงสถาบัน การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ต่างกันลิบลับกับสังคมอเมริกันยุคหลังสงครามโลก (และสังคมไทยในยุคเดียวกัน) ที่มุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์อันเป็นหนึ่งเดียว การลดทอนความซับซ้อนขององค์ประกอบทางสังคมให้เหลือแต่ความสัมพันธ์ที่สามารถพิจารณาได้ด้วยแนวคิดสากลเช่นเศรษฐกิจทุนนิยม ทัศนะและมโนทัศน์เหล่านี้ฝังลึกในพลเมือง และสะท้อนออกมาผ่านช่องทางต่างๆ เช่นทฤษฎีสื่อสารมวลชนแนวทางเลือกที่ได้กล่าวข้างต้น
ผมคงไม่สามารถสรุปได้ว่ามโนทัศน์แบบไหนจะยั่งยืนและเป็นทางออกในอนาคต แต่สิ่งที่เห็น ณ ปัจจุบันคือขาลงของขนบอเมริกันแบบดั้งเดิม และการเฟื่องฟูของแนวคิดทางสายกลาง ทฤษฎีทางเลือก และการมองโลกองค์รวมโดยยอมรับความแตกต่างซับซ้อน ซึ่งหลายคนก็มองว่าการยอมรับดังกล่าวจะเป็นทางรอดของมนุษย์ เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันกับเพื่อนร่วมโลก และธรรมชาติ

3.ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกามีความเป็นอยู่แตกต่างจากประชากรในทวีปอื่นนอย่างไร
-ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด[1] ประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน (พ.ศ. 2552) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก
ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ รวมทั้งมาดากัสการ์ หมู่เกาะต่าง ๆ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา แต่ยังคงถูกโต้แย้งเรื่องสถานภาพความเป็นอธิปไตยโดยโมร็อกโก

9. ความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ส่งผลกระทบต่อความขัดแย้งในสหภาพพม่าอย่างไร
-ในอดีต ภูมิภาคยุโรปประกอบไปด้วยรัฐต่างๆที่มีพรมแดนติดกัน โดยพรมแดนมักจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และไม่มีการกำหนดเขตแดนที่แน่นอนตามแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้สิ้นสุดลง ทำให้เกิดการปลดปล่อยดินแดนต่างๆ ส่งผลทำให้เกิดกลุ่มชนต่างๆ ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และในเวลาต่อมาจึงได้มีการประกาศเอกราชกลายเป็นรัฐต่างๆขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลง ภูมิภาคยุโรปต่างได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าประเทศในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากยุโรปถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตก นับว่าเป็นยุโรปยุคใหม่ (New Europe) ที่มีความขัดแย้งระหว่างประเทศลดลงแต่กลับมีความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติเข้ามาแทนที่ ประกอบกับ ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติในยุโรปกลายเป็นประเด็นสำคัญทางด้านสิทธิมนุษยชน เพราะไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของภูมิภาคยุโรปเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลกด้วยเช่นกัน
ภายหลังสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงในปี พ.. 2534 ประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกบางประเทศได้เกิดสงครามกลางเมือง อันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติ ทำให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) ต้องส่งหน่วยรักษาสันติภาพไปยังบริเวณที่เกิดความขัดแย้งเพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อาทิ ในปี พ.. 2536 ส่งหน่วยรักษาสันติภาพเข้าไปยังพื้นที่ที่เกิดความขัดแย้งในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และในปี พ.. 2542 องค์การนาโตได้ส่งกองกำลังเข้าปราบปรามชาวเซิร์บที่ต้องการล้างเผ่าพันธุ์ชาวโคโซโวเชื้อสายแอลเบเนียบนดินแดนแห่งความขัดแย้งทางเชื้อชาติของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียเดิม ซึ่งประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐ ได้แก่ เซอร์เบีย โครเอเซีย สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มาซิโดเนีย และมอนเตเนโกร ปัญหาเชื้อชาตินั้นมีความสำคัญมากเพราะยูโกสลาเวียมีหลาย ชนชาติ ได้แก่ ชาวเซิร์บ โครแอต บอสเนีย มุสลิม สโลวีน และมาซิโดเนีย เป็นต้น ความแตกแยกของยูโกสลาเวียในปัจจุบันมีที่มาจากปัจจัยพื้นฐานหลายประการ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือปัจจัยทางประวัติศาสตร์ที่สั่งสมมานานกว่าพันปี จากการที่สาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งมารวมกันเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียมีเชื้อชาติ ศาสนา ความเป็นมาทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทำให้ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติกลายเป็นปัญหาที่คุกรุ่นตลอดมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชาวโครแอท ชาวเซิร์บ และชาวมุสลิมในอดีต สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ โดยมีผู้นำที่มีความสามารถในการปกครองและผสานความสมานฉันท์ระหว่างเชื้อชาติ คือ พลเอก โจซีป ตีโต(Josip Tito) ทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติไม่มีปัญหามากนัก จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงผู้นำ เมื่อ ตีโตถึงแก่กรรม ผู้นำที่ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่ง คือ นายสโลโบดัน มิโลเชวิช (Slobodan Milosevic) ซึ่งเป็นคนเชื้อสายเซิร์บหัวรุนแรง ทำให้ปัญหาเชื้อชาติประทุขึ้นขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนี้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยังมีสาเหตุมาจากความแตกต่างในด้านศาสนาด้วย อาทิ ชาวเซิร์บนับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ ส่วนชาวสโลวีนและโครแอตนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นต้น ทำให้เกิดความขัดแย้งของรัฐบาลในแต่ละสาธารณรัฐต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงได้ขึ้นเป็นรัฐบาลกลางปกครองประเทศและรัฐบาลแห่งรัฐเซอร์เบียได้ผลักดันให้ชาวเซิร์บเข้ามามีบทบาทในกองทัพมาขึ้น ทำให้สาธารณรัฐอื่นไม่พอใจเป็นอย่างมาก โดยในปี พ.. 2534 สาธารณรัฐต่างๆได้แยกตัวจากยูโกสลาเวีย
เมื่อแต่ละสาธารณรัฐประกาศแยกตัวจากยูโกสลาเวีย ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือปัญหาทางด้านเชื้อชาติ เช่น ชาวเซิร์บในเขตสาธารณรัฐโครเอเซีย บอสเนีย และเฮอร์เซโกวีนา ได้ต่อต้านรัฐบาลโครเอเชียและรัฐบาลบอสเนีย ภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเซอร์เบีย ทำให้เกิดการสู้รบในโครเอเชียขึ้น ระหว่างกองกำลังชาวเซิร์บกับกองทัพรัฐบาลโครเอเซียนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.. 2534 จนถึงปี พ.. 2538

5. ประเทศต่างๆในทวีปเอเชียมีอัตลักษณ์อย่างไร
-อัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า ประเทศไทยประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ มีทั้งลาว เขมร ส่วย มอญ จีน ญวน แขก ฯลฯ ทุกคนไม่ว่าจะมีกำเนิดในชาติพันธุ์ใด ก็มีสถานภาพเป็นพลเมืองไทยอย่างเท่าเทียมกัน อาจจะมีการดูหมิ่นเหยียดหยามกันอยู่บ้างในอดีต
แต่สังคมไทยในปัจจุบันไม่มีแล้ว เช่น คนจีนที่ถูกเรียกว่า "เจ๊ก" ก็โกรธ แต่เดี๋ยวนี้หายโกรธแล้ว คนจีนก็ยังเรียกตัวเองว่า "เจ๊ก" เหมือนกัน คนมลายูที่ถูกเรียกว่า "แขก" ก็น่าจะเลิกโกรธกันได้แล้ว เพราะคำว่า "เจ๊ก" ก็ดี "แขก" ก็ดี ไม่ใช่คำหยาบ ไม่มีความหมายไปในทางดูหมิ่นเหยียดหยามแต่อย่างใด
จะเห็นว่าทุกชาติพันธุ์ก็สามารถดำรงชีวิตตามประเพณีของตนได้ คนจีนก็ฉลองวันตรุษจีนได้ คนมอญเขาก็เล่นสงกรานต์ตามประเพณีของเขาได้ คนลาวก็เล่นบั้งไฟอยู่ทั่วไป พอมีข่าวน้ำท่วมสระบุรี เราจึงได้รู้ว่าชุมชนญวนที่อำเภอเสาไห้ ได้เก็บบ้านหลังแรกที่บรรพบุรุษของเขามาตั้งหลักแหล่งที่นั่นไว้ เป็นอัตลักษณ์ของเขาเหมือนกัน ชาวมลายูใน 3 จังหวัดก็สามารถประกอบกิจ อันเป็นประเพณีของตนได้ตามปกติอยู่แล้ว
ปัญหาเรื่องอัตลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ไม่เคยมี ที่พูดๆ กันอยู่ตอนนี้เป็นเพียงข้อกล่าวหาของกลุ่มผู้ก่อการเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น