วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่5

1. สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญอย่างไรกับความสงบสุขของสังคมโลก
-สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอารยะธรรมโลก (World Civilzation) ของมนุษย์ที่พยายามวางระบบความคิดเพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความระลึกรู้ คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิตั้งแต่กำเนิด โดยให้ความสำคัญกับคำว่าชีวิต (Life) (ชะวัชชัย ภาติณธุ,2548:3) นอกจากนี้แล้วสิทธิมนุษยชนยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความเป็นมนุษย์สิทธิและ เสรีภาพ และสภาวะโลกปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่เรื่องประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องของสิทธิมนุษยชนยังได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางการฑูต การงดการทำการค้าด้วย หรือกรณีการส่งกองกำลังทหารของสหประชาชาติเพื่อเข้าไปยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวิน่า และในโคโซโว ของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย เป็นต้น (กุมพล พลวัน, 2547:2-3) ด้วยสาเหตุและความสำคัญดังกล่าวมาข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะมีความสำคัญทั้งในด้านสังคมโลกและการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย
2. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในปัจจุบันของโลกมีอะไรบ้าง แล้วเป็นอย่างไร จงอธิบายมาพอสังเขป
รัฐธรรมนูญของชาติตะวันตกที่พัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน ยังไม่ถือได้ว่าเป็น สากลเพราะยังไม่ครอบคลุมไปถึงพลเมืองทุกคน สตรี เด็ก คนต่างชาติ และทาส ยังไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพลเมืองที่มีสิทธิตามกฎหมาย นอกจากนั้นสิทธิทางสังคมและสิทธิของชนกลุ่มน้อย ก็ยังไม่ได้รับการกล่าวถึงในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของชาติตะวันตกต่างๆ ในช่วงระยะนั้น บท
บัญญัติการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติซึ่งแสดงถึงความร่วมมือระหว่างชาติได้ปรากฏขึ้น โดยเฉพาะสนธิสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา สนธิสัญญาเกี่ยวกับการเลิกทาส และกฎหมายเกี่ยวกับสงคราม อย่างไรก็ตามเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918) สิ้นสุดลง ก็ได้เกิดความรู้สึกร่วมกันว่ารัฐบาลทั้งหลายไม่สามารถปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพลังของนานาชาติร่วมกัน ดังนั้นองค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) ซึ่งเป็นองค์การสากลระหว่างรัฐบาลองค์การแรก กำเนิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงหาวิถีทางที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ แต่งานของสันนิบาตชาติในเรื่องนี้ก็จำกัดอยู่เพียงการคุ้มครองชนกลุ่มน้อยในบางประเทศเท่านั้น ความพยายามระดับนานาชาติที่จะปกป้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ปรากฏขึ้นต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และได้กลายเป็นข้อตกลงระดับนานาชาติ ร่างขึ้นโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศเมื่อ ค.ศ. 1919 ส่วนการเลิกทาสซึ่งพยายามต่อสู้กันมาเป็นระยะเวลานานก็บรรลุผลสำเร็จ เมื่อนานาชาติที่เกี่ยวข้องร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างชาติว่าด้วยทาสที่กรุงเจนีวาเมื่อ ค.ศ. 1926 สำหรับปัญหาผู้ลี้ภัยก็ได้มีการร่วมลงนามในอนุสัญญาระหว่างชาติเพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัย เมื่อ ค.ศ. 1933 และ 1938
ในช่วงระยะระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้เกิดระบอบการปกครองแบบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จ (Totalitarian regimes) ซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1920 และดำเนินต่อไปจนเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในดินแดนของตนเองอย่างรุนแรง ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ได้นำมาซึ่งการทำลายล้างชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งมีความพยายามที่จะทำลายชนกลุ่มต่างๆ โดยอ้างเหตุแห่งเชื้อชาติและศาสนาดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างแน่นอนว่าจำเป็นจะต้องมีบทบัญญัติระดับนานาชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะการเคารพสิทธิมนุษยชนนับเป็นภาระที่สำคัญอันจะนำไปสู่สันติภาพและความก้าวหน้า
3. ยกตัวอย่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโลกปัจจุบัน พร้อมบอกแนวทางการแก้ไขปัญหา
-การละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อย ซึ่งตามปกติ ถือว่าเป็นคนชายขอบและมีฐานะต่ำกว่าบุคคลทั่วไป จึงเสี่ยงแก่การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ง่าย แต่กรณีที่ข้าพเจ้าอยากจะเจาะลึกลงไปในบทความนี้นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับการที่ สถาบันการศึกษา ระดับก่อนอุดมศึกษา หรือแม้กระทั่งระดับอุดมศึกษา ละเมิดสิทธิมนุษยชนของ นักเรียน หรือ นักศึกษา ในการบังคับให้ตัดทรงผม ตามระเบียบข้อบังคับที่สถาบันได้กำหนดไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น